"ต่อบุญ พ่วงมหา" แม่ทัพสนุกออนไลน์เจ้าของ Shopping.co.th พูดถึงวงการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์หรือตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ในเมืองไทยบ้านเรา ยอมรับว่าตื่นเต้นกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพการเมืองที่ไม่สงบและเศรษฐกิจที่ผันผวนจนทำให้ตลาดไม่หยุดนิ่งในแต่ละวัน แม้จะบอกว่าภาวะเศรษฐกิจซบมีส่วนทำให้การซื้อขายสินค้าออนไลน์มีจุดแข็งมากขึ้น ทั้งเรื่องน้ำมันแพงที่ทำให้ผู้บริโภคไม่อยากเดินทางไปซื้อสินค้าเอง และเศรษฐกิจที่ส่อแววทรุดทำให้คนอยากหารายได้พิเศษโดยไม่ต้องลงทุนสูง
"ช่วงนี้ผมตื่นเต้นทุกวัน ทุกอย่างไม่นิ่งจริงๆ ตลาดหุ้นผมก็ไม่คิดว่าดาวโจนส์จะร่วงลงขนาดนี้ ความเปลี่ยนแปลงนี้กระทบหลายส่วน แต่แปลกที่จำนวนคนใช้งานอินเทอร์เน็ตก็ยังเพิ่มอยู่ การซื้อขายออนไลน์ก็เพิ่มขึ้นไม่ได้ลดลง ผมเชื่อว่าคนต้องการประหยัดแต่ก็ยังต้องซื้อสินค้า ซึ่งการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ตจะได้ในราคาที่ถูกกว่า เป็นไปได้ที่พิษเศรษฐกิจจะช่วยเสริมจุดขายเรื่องราคาถูกให้เรา"
ต่อบุญนั้นมีตำแหน่งเป็นประธานบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด เป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ Shopping.co.th ซึ่งสนุกพัฒนาร่วมกับอีเบย์ เว็บไซต์ประมูลสินค้าออนไลน์ชื่อดังของโลก เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าในประเทศไทย ความตื่นเต้นไม่ได้ทำให้ต่อบุญหนักใจว่าตลาดซื้อขายสินค้าในไทยจะเงียบเหงา เพราะต่อบุญบอกว่าผู้ค้าอิสระรายย่อยกำลังเริ่มเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้วยการเอาสินค้ามือสองที่ตัวเองมีอยู่ ออกมาขายบนโลกออนไลน์เพื่อสร้างรายได้เสริมกันมากขึ้น ซึ่งน่าสนใจมากที่ "พระเครื่อง" กลายเป็นสินค้าออนไลน์ยอดนิยมอันดับ 3
"อย่างเพื่อนผมคนหนึ่ง เปิดลิ้นชักแล้วเจอโทรศัพท์มือถือเครื่องเก่าวางไว้ไม่ได้ใช้ ก็คิดว่าทำไมต้องวางทิ้งไว้แบบเปล่าประโยชน์ เมื่อลองลุกขึ้นมาขายออนไลน์ก็ปรากฏว่าขายได้ ผมคิดว่านี่คือการเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาดขายสินค้าออนไลน์ แนวโน้มอีกอย่างคือคนไทยชอบประมูลสินค้ามากขึ้น เห็นได้จากการประมูลพระเครื่องที่เป็นสินค้ายอดนิยมอันดับที่ 3 รองจากเครื่องแต่งกายและสินค้าสำหรับผู้หญิง สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นการขยายตัวของกลุ่มคนที่สนใจสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย"
ต่อบุญยอมรับว่า ตลาดขายสินค้าออนไลน์ในประเทศไทยยังไม่เติบโตเท่าที่ควร สาเหตุเพราะคนไทยยังขาดความเชื่อถือระบบ ซึ่งจากการเปิดเว็บไซต์ Shopping.co.th มาตลอด 6-7 เดือนที่ผ่านมา เชื่อว่าอีก 2 ปีข้างหน้าจึงจะเห็นการเติบโตในประเทศไทยอย่างเห็นได้ชัด
"ไอดีซีประมาณว่าอีคอมเมิร์ชจะเติบโตราว 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งผมเชื่อว่าวงการอีคอมเมิร์ซไทยต้องมีฟีเจอร์เพิ่มเติม แต่ที่สำคัญที่สุดคือต้องสร้างความน่าเชื่อถือ ทำอย่างไรให้ผู้ซื้อมั่นใจในการซื้อ และผู้ขายมั่นใจว่าจะได้รับเงินจริงเมื่อขายสินค้า อย่างของสนุกเอง เรามีระบบฟีดแบ็ก เป็นระบบที่ผู้ซื้อสามารถให้คะแนนความน่าเชื่อถือผู้ขายที่ประทับใจ ขณะที่ผู้ขายก็สามารถขึ้นบัญชีดำลูกค้าที่ไม่ซื่อสัตย์ได้ เชื่อว่าตรงนี้จะทำให้เกิดสังคมที่น่าเชื่อถือ"
ความท้าทายหลักของต่อบุญ จึงเป็นการสร้างคอมมูนิตีชุมชนค้าขายออนไลน์ที่เต็มไปด้วยความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
"ทำเว็บนั้นไม่ยากแต่ทำอย่างไรให้คนซื้อและคนขายมาเจอกันแล้วเกิดการซื้อขาย เรื่องนี้คือเรื่องหลัก เรื่องเทคโนโลยีจะเป็นส่วนประกอบ จะต้องมีฟีเจอร์ที่ใช้ง่าย เช่น ฟีเจอร์ค้นหาสินค้า เป็นต้น และสามคือเราจะสร้างการรับรู้อย่างไรให้ผู้บริโภคเริ่มอยากมาลองเล่นในตลาดขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งเมื่อลองแล้วจะรู้ว่าอะไรคือเทคนิคในการขายหรือประมูลสินค้าออนไลน์"
ต่อบุญยกตัวอย่างเทคนิคในการประมูลสินค้าออนไลน์ว่า ผู้เปิดประมูลโทรศัพท์มือถือควรต้องตั้งราคาเพดานการประมูลให้ต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาด ผู้เปิดประมูลสินค้าค้างสต็อกที่ยึดคติกำขี้ดีกว่ากำตด จะสามารถขายสินค้าในราคาเกินทุนเล็กน้อยเพื่อนำเงินไปหมุนเวียน ขณะที่สินค้าประเภทงานแกะสลักหรือวัตถุโบราณ สามารถตั้งราคาเริ่มต้นที่ต่ำมาก เพื่อท้าทายนักประมูลรายอื่นที่มองว่าสินค้าล้ำค่านี้ราคาถูกเหลือเชื่อ
"สำหรับการแข่งขันในตลาดผมมองว่า เค้กมันก้อนโตแต่คนยังกินกันน้อยอยู่"
ขณะนี้เว็บไซต์สนุกมี UIP ราว 5.3-5.4 แสนไอพี โดยต่อบุญปฏิเสธไม่เปิดเผยตัวเลขรายได้ที่ผ่านมา ให้ข้อมูลเพียงว่าสัดส่วนรายได้หลักมาจากการโฆษณาบนเว็บไซต์ราว 70 เปอร์เซ็นต์ รายได้ที่เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์มาจากผู้บริโภคซึ่งเป็นค่าบริการคอนเทนต์ อัตราการเติบโตของรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลักต่อเนื่องมานานหลายปีแล้ว
"จริงอยู่ที่เศรษฐกิจลงธุรกิจโฆษณาก็จะลดลงเป็นอันดับแรก บริษัทจะพิจารณาตัดงบโฆษณาลงก่อนงานด้านอื่นๆ แต่ผมคิดว่ายังไงๆเรื่องมาร์เกตติ้งยังต้องมี บริษัทรู้ว่าถ้าลงงบการตลาดไป 100 แต่ได้กลับคืนมา 300 ยังไงซะก็ต้องลงทุน จุดนี้ผมเชื่อว่าธุรกิจโฆษณายังมีโอกาส บริษัทบางรายที่ประกาศลดงบประมาณทุกอย่างไม่ใช่เฉพาะงบโฆษณาออนไลน์ ก็ยังเปลี่ยนใจเมื่อเราแสดงให้เห็นว่า การลงโฆษณาออนไลน์มันวัดผลได้จริง โดยรวมแล้วผมคิดว่าเราอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่แย่อย่างที่หลายคนมอง"
ต่อบุญยืนยันว่าตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลงจริงแต่ไม่กลัว และมั่นใจว่าปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองทุกอย่างจะคลี่คลายในที่สุด
"แม้สถานการณ์ตอนนี้จะไม่นิ่ง แต่เชื่อว่าปัญหาทุกอย่างจะต้องถูกแก้ไข แต่จะใช้เวลายาวแค่ไหนนั้นอีกเรื่องหนึ่ง คงต้องรอดูกันต่อไป สำหรับเรื่องเศรษฐกิจการเมืองมีผลกับเราบ้าง แต่ยืนยันว่าไม่มีผลให้เรากลัว"
กว่าจะเป็นต่อบุญ
sanook.com นั้นเป็นเว็บไซต์ยอดนิยมอันดับ 1 ที่มีผู้เข้าชมสูงที่สุดในประเทศไทย เบื้องหลังความสำเร็จส่วนหนึ่งมาจากประธานบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ที่ชื่อว่า "ต่อบุญ พ่วงมหา" คนนี้
ต่อบุญมีประสบการณ์อยู่ในวงการไอที - อี-บิสิเนส มามากกว่า 10 ปี เริ่มจากการดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป บริษัท ดิจิตอล แอสเซ็ท จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลทางโทรศัพท์ มร.โฮม1575, อินเทอร์เน็ต และไดเร็คเมล์ จากนั้นก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการของไทยแลนด์ดอทคอม เว็บท่าผู้ให้บริการข้อมูลด้านธุรกิจส่งออก ท่องเที่ยว และซื้อขายสินค้า ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกลุ่มเนชั่นมัลติมีเดีย โดยเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทฯ
ต่อบุญเคยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท มีท เวิร์ล เทรด (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนของไทยแลนด์ดอทคอมและมีท เวิร์ล เทรด ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อทำธุรกิจบีทูบีและอี-คอมเมิร์ซในประเทศไทยและทั่วโลก จากนั้นจึงดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ดิจิตอล เวฟ จำกัด ซึ่งให้บริการแอปพลิเคชันธุรกิจ เช่น ERP, CRM และ E-Business ต่างๆ
จากนั้นต่อบุญเข้าร่วมงานกับบริษัท เค เอส ซี คอมเมอร์เชียล อินเตอร์เนต จำกัด ในตำแหน่งรองประธานฝ่ายบรอดแบนด์ และได้รับความไว้วางใจแต่งตั้งเป็นรองประธานฝ่าย Home & Leisure บริษัท เอ็มเว็บ (ประเทศไทย) จำกัด ดูแลรับผิดชอบด้านการปฏิบัติการและการบริหารเว็บไซต์ www.sanook.com ก่อนจะรับตำแหน่งประธานบริหาร บริษัท สนุก ออนไลน์ จำกัด ในที่สุด
ต่อบุญนั้นจบการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา และปริญญาตรี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเข้ารับการอบรมในหลักสูตรอี-บิสิเนสและซัปพลาย เชน แมนเนจเมนต์ จากมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา
Sunday, October 12, 2008
ต่อบุญ พ่วงมหา "ช่วงนี้ผมตื่นเต้นทุกวัน"
Monday, September 22, 2008
ถนนเจริญกรุง
ถนนเจริญกรุง เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2404 แล้วเสร็จใน พ.ศ.2407 เริ่มตั้งแต่ถนนสนามไชยถึงแม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้น เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนเดิมที่สร้างขึ้นบริเวณพระบรมมหาราชวัง เช่น ถนนพระลาน ถนนสนามไชย ถนนข้างกำแพงด้านตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง ถนนท้ายวังและถนนหน้าวังหน้า ถนนหน้าวังพระศรีสรรเพชญ์ ถนนพระจันทร์ และถนนเสาชิงช้า ถนนเหล่านี้ใช้สัญจรในฤดูแล้ง และกลายเป็นถนนโคลนในฤดูฝน พระองค์ได้ทรงรับคำกราบบังคมทูลอธิบายจากชาวต่างประเทศว่า ในประเทศทางยุโรปนั้น จะสร้างถนนที่สามารถใช้ได้ทุกฤดูกาล โดยใช้อิฐและหินก้อนใหญ่ก้อนเล็กปูเป็นชั้นๆ ทำให้พระองค์สนพระทัยมาก ประกอบกับกงสุลจากประเทศต่างๆ ได้เข้าชื่อถวายฎีกา ขอพระราชทานถนนโดยได้กราบบังคมทูลว่า "ชาวยุโรปเคยขี่รถขี่ม้า เที่ยวตากอากาศ ได้ความสบายไม่มีไข้ เข้ามาอยู่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้าไปเที่ยวพากันเจ็บไข้เนืองๆ"
เมื่อพระองค์ได้ทรงทราบความในหนังสือแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง และพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง เป็นนายงาน สร้างถนนจากวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ผ่านสำเพ็ง (ย่านการค้าของชาวจีน) ผ่านบางรัก (ย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวตะวันตก) ถึงบางคอแหลม (ถนนตก)
ถนนเจริญกรุงแบ่งเป็น 2 ตอนคือ ถนนเจริญกรุงตอนใน โปรดให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ)
เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ เป็นนายงาน ลงมือตัดถนนเมื่อ พ.ศ.2405 จากหน้าวัดพระเชตุพนฯ ผ่านสะพานมอญ สี่กั๊กพระยาศรี มาถึงประตูยอด* มีความกว้าง 4 วา หรือ 8 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็ก) ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทักท้วงว่า การสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต
ตอนที่สองเรียก ถนนเจริญกรุงตอนนอก จากถนนตก ผ่านมาสามแยกถึงประตูยอด โดยตัดถนนกว้าง 5 วา 2 ศอก หรือ 11 เมตร เป็นระยะทาง
25 เส้น 10 วา 3 ศอก ในการสร้างถนนเจริญกรุง พระองค์โปรดให้สร้างตึกแถวชั้นเดียวตลอดสองฟากถนน พระราชทานแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา เพื่อเก็บผลประโยชน์จากค่าเช่าตึกแถวร้านค้าของชาว
จีน และชาวต่างประเทศ ทำให้เกิดการขยายตัวทางก
ารค้าสองฟากถนนเจริญกรุงมากยิ่งขึ้น
เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า
เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า
"ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน
ถนนเจริญกรุงในปัจจุบัน และอดีต
Friday, April 25, 2008
แอบดู"บันทึกภายใน"ไมโครซอฟท์ เขียนโดยผู้รับช่วงต่อ"บิลเกตส์" (1)
บันทึกภายในไมโครซอฟท์ชิ้นนี้เขียนโดยผู้รับช่วงต่อเก้าอี้ประธานฝ่ายสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ของไมโครซอฟท์ต่อจากบิล เกตส์นามว่า "เรย์ ออซซี่ (Ray Ozzie)" บันทึกนี้ถูกส่งถึงพนักงานไมโครซอฟท์ก่อนจะมีข่าวว่าซีอีโอไมโครซอฟท์ สตีฟ บอลเมอร์ ส่งสัญญาณเลิกสนใจหุ้นยาฮูเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นัยสำคัญที่ทำให้บันทึกนี้น่าสนใจคือการเป็นเหมือนสัญญาณแรกจากออซซี่ ที่ชี้ว่าไมโครซอฟท์จะไปในทิศทางใดต่อจากนี้
เว็บไซต์เทคครันช์เผยแพร่บันทึกนี้โดยวิเคราะห์ว่า ออซซี่กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงไมโครซอฟท์จากการเป็นผู้สร้างซอฟต์แวร์ให้เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีหรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ มาเป็นผู้สร้างเครือข่ายการเชื่อมต่อที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์นานาชนิดได้อย่างสะดวกสบาย
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้แปลว่าออซซี่มองข้ามกรุสมบัติเดิมของไมโครซอฟท์อย่างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) หรือชุดซอฟต์แวร์ออฟฟิศ (Office) แต่ออซซี่กำลังชี้ว่าคุณค่าของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรองรับซอฟต์แวร์บริษัทอื่น มากกว่าจะขึ้นกับความสามารถในการทำงานของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์เอง
เท่ากับว่าในความเห็นของออซซี่ ไมโครซอฟท์นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์อีกต่อไปแล้ว แต่เกี่ยวข้องกับบริการออนไลน์หรือ Web-based service
ทางรอดในยุคซอฟต์แวร์ตาย
เมื่อไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่รุ่งเรืองด้วยธุรกิจจำหน่ายซอฟต์แวร์ ไมโครซอฟท์จำเป็นต้องหาทางรอดในยุคที่ซอฟต์แวร์กำลังจะตายและธุรกิจเว็บไซต์รุ่งเรืองสุดขีด ในบันทึก ออซซี่ระบุว่าหัวใจของกลยุทธ์นี้คือการประสานโลกของเว็บไซต์และโลกของอุปกรณ์เข้าด้วยกัน
"เมื่อผ่านพ้นช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยุคของคอมพิวเตอร์พีซีปูทางให้เกิดเป็นยุคที่เว็บไซต์คือศูนย์กลางของประสบการณ์ออนไลน์ทุกชนิด ประสบการณ์นี้ไม่ได้เกิดทางเว็บบราวเซอร์ในคอมพิวเตอร์พีซีเท่านั้น แต่เกิดทางอุปกรณ์อื่นทั้งโทรศัพท์ เครื่องเล่นไฟล์มัลติมีเดีย อุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์หรือ set-top boxes โทรทัศน์ รถยนต์ และอีกมากมาย" ออซซี่เริ่ม "มี 3 แนวทางหลักในกลยุทธ์บริการของเรา เป็นแนวทางที่ชี้ว่าการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไมโครซอฟท์มีนับจากนี้จะถูกเชื่อมถึงกันทุกส่วน ทั้งซอฟต์แวร์ของผู้บริโภคทั่วไปและกลุ่มธุรกิจ"
กฏข้อแรกที่ออซซี่อยากให้พนักงานไมโครซอฟท์จดจำคือ "เว็บไซต์คือศูนย์กลางหรือฮับของเครือข่ายสังคมและเครือข่ายอุปกรณ์"
ออซซี่อธิบายว่าเว็บไซต์เป็นประตูบานแรกของประชาชนส่วนใหญ่ เชื่อว่าทุกแอปพลิเคชันบนโลกจะพากันพัฒนาความสามารถในการจำแนกและการใช้ประโยชน์จากนิสัยกิจวัตรออนไลน์ของผู้คน เพื่อผันตัวเองให้กลายเป็นรากเหง้าหรือ
สัญชาติญาณออนไลน์
ออซซี่เปรียบเปรยอย่างน่าสนใจ ว่าบริการของธุรกิจความบันเทิงและเครือข่ายชุมชนออนไลน์เช่น ลิงก์ (linking) แชร์ไฟล์ (sharing) จัดลำดับ (ranking) และใส่ชื่อป้ายบ่งบอกประเภทเนื้อหา (tagging) นั้นกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญคล้ายกับเมนูไฟล์ (File), แก้ไข (Edit) มุมมอง (View) และอื่นๆซึ่งเป็นรูปแบบของโปรแกรมในอดีต
ออซซี่เชื่อว่าคอนเซ็ปต์ “My Computer” จะสามารถพัฒนาจนกลายเป็นคอนเซ็ปต์ของเครือข่ายอุปกรณ์ แทนที่ผู้ใช้จะจัดการเฉพาะข้อมูลภายในไดร์ฟต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดิม แต่จะสามารถจัดการอุปกรณ์ไฮเทคทุกอย่างที่ผู้บริโภคซื้อหามาได้ผ่านเว็บไซต์ ทุกอย่างเชื่อมถึงกันแบบไม่มีรอยต่อ
ติดตามกฏข้อสองและสาม รวมถึงความเคลื่อนไหวเรื่องนโยบาย "เดินคนเดียว" เลิกสนใจยาฮูของไมโครซอฟท์ในบทความตอนต่อไป
เว็บไซต์เทคครันช์เผยแพร่บันทึกนี้โดยวิเคราะห์ว่า ออซซี่กำลังพยายามเปลี่ยนแปลงไมโครซอฟท์จากการเป็นผู้สร้างซอฟต์แวร์ให้เครื่องคอมพิวเตอร์พีซีหรือคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ มาเป็นผู้สร้างเครือข่ายการเชื่อมต่อที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์นานาชนิดได้อย่างสะดวกสบาย
สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้แปลว่าออซซี่มองข้ามกรุสมบัติเดิมของไมโครซอฟท์อย่างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows) หรือชุดซอฟต์แวร์ออฟฟิศ (Office) แต่ออซซี่กำลังชี้ว่าคุณค่าของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้น ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรองรับซอฟต์แวร์บริษัทอื่น มากกว่าจะขึ้นกับความสามารถในการทำงานของซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์เอง
เท่ากับว่าในความเห็นของออซซี่ ไมโครซอฟท์นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์อีกต่อไปแล้ว แต่เกี่ยวข้องกับบริการออนไลน์หรือ Web-based service
ทางรอดในยุคซอฟต์แวร์ตาย
เมื่อไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่รุ่งเรืองด้วยธุรกิจจำหน่ายซอฟต์แวร์ ไมโครซอฟท์จำเป็นต้องหาทางรอดในยุคที่ซอฟต์แวร์กำลังจะตายและธุรกิจเว็บไซต์รุ่งเรืองสุดขีด ในบันทึก ออซซี่ระบุว่าหัวใจของกลยุทธ์นี้คือการประสานโลกของเว็บไซต์และโลกของอุปกรณ์เข้าด้วยกัน
"เมื่อผ่านพ้นช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยุคของคอมพิวเตอร์พีซีปูทางให้เกิดเป็นยุคที่เว็บไซต์คือศูนย์กลางของประสบการณ์ออนไลน์ทุกชนิด ประสบการณ์นี้ไม่ได้เกิดทางเว็บบราวเซอร์ในคอมพิวเตอร์พีซีเท่านั้น แต่เกิดทางอุปกรณ์อื่นทั้งโทรศัพท์ เครื่องเล่นไฟล์มัลติมีเดีย อุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์หรือ set-top boxes โทรทัศน์ รถยนต์ และอีกมากมาย" ออซซี่เริ่ม "มี 3 แนวทางหลักในกลยุทธ์บริการของเรา เป็นแนวทางที่ชี้ว่าการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ไมโครซอฟท์มีนับจากนี้จะถูกเชื่อมถึงกันทุกส่วน ทั้งซอฟต์แวร์ของผู้บริโภคทั่วไปและกลุ่มธุรกิจ"
กฏข้อแรกที่ออซซี่อยากให้พนักงานไมโครซอฟท์จดจำคือ "เว็บไซต์คือศูนย์กลางหรือฮับของเครือข่ายสังคมและเครือข่ายอุปกรณ์"
ออซซี่อธิบายว่าเว็บไซต์เป็นประตูบานแรกของประชาชนส่วนใหญ่ เชื่อว่าทุกแอปพลิเคชันบนโลกจะพากันพัฒนาความสามารถในการจำแนกและการใช้ประโยชน์จากนิสัยกิจวัตรออนไลน์ของผู้คน เพื่อผันตัวเองให้กลายเป็นรากเหง้าหรือ
สัญชาติญาณออนไลน์
ออซซี่เปรียบเปรยอย่างน่าสนใจ ว่าบริการของธุรกิจความบันเทิงและเครือข่ายชุมชนออนไลน์เช่น ลิงก์ (linking) แชร์ไฟล์ (sharing) จัดลำดับ (ranking) และใส่ชื่อป้ายบ่งบอกประเภทเนื้อหา (tagging) นั้นกำลังจะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญคล้ายกับเมนูไฟล์ (File), แก้ไข (Edit) มุมมอง (View) และอื่นๆซึ่งเป็นรูปแบบของโปรแกรมในอดีต
ออซซี่เชื่อว่าคอนเซ็ปต์ “My Computer” จะสามารถพัฒนาจนกลายเป็นคอนเซ็ปต์ของเครือข่ายอุปกรณ์ แทนที่ผู้ใช้จะจัดการเฉพาะข้อมูลภายในไดร์ฟต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเดิม แต่จะสามารถจัดการอุปกรณ์ไฮเทคทุกอย่างที่ผู้บริโภคซื้อหามาได้ผ่านเว็บไซต์ ทุกอย่างเชื่อมถึงกันแบบไม่มีรอยต่อ
ติดตามกฏข้อสองและสาม รวมถึงความเคลื่อนไหวเรื่องนโยบาย "เดินคนเดียว" เลิกสนใจยาฮูของไมโครซอฟท์ในบทความตอนต่อไป
Thursday, April 10, 2008
Saturday, April 5, 2008
จากกำแพงเพชรสู่ซิลิกอนวัลเลย์
ทุกวันนี้ไม่มีใครปฏิเสธไม่รู้จักกูเกิล แต่ใครจะรู้ว่ากูเกิลมีผู้บริหารที่เป็นคนไทย คนไทยคนนี้มาจากกำแพงเพชร มีความภูมิใจเต็มเปี่ยมที่ได้เกิดเป็นคนต่างจังหวัด ผลักดันตัวเองให้ก้าวเดินด้วยความฝันไม่ใช่เงินทอง ผ่านเส้นทางจากโรงเรียนวัดสู่โรงเรียนบริหารธุรกิจสแตนฟอร์ด ดำรงความเป็นไทยจนฝรั่งยอมรับยกนิ้วให้ กระทั่งเข้าสู่สังเวียนซิลิกอนวัลเลย์ภายใต้ร่มเงาของกูเกิลในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาดด้วยวัยเพียง 30 ปี
หวังว่าแนวคิดของผู้ชายชื่อเรืองโรจน์ พูนผล หรือ"กระทิง"คนนี้ จะกระตุ้นความฝันของคนไทยหลายๆคนให้สูบฉีด และเป็นกรณีศึกษาให้กับคนไทยหัวใจไม่แพ้ ซึ่งจะเป็นตัวจุดประกายให้ชาติไทยพัฒนาในที่สุด
ผมชื่อกระทิงเพราะแม่
"คุณแม่เล่าว่าผมคลอดยากมาก คุณหมอต้องใช้เครื่องมือดูดออกมา ตรงศีรษะก็เลยมีโหนกเล็กๆตอนนี้มาจับก็ยังมีอยู่ คุณแม่ตั้งชื่อนี้เพราะอยากให้เป็นคนสู้ปัญหา ตอนคลอดผมตัวเล็กมากเหมือนปลาช่อน ออกจากตู้อบแม่ต้องเอามาวางไว้ตรงอกเพื่อให้แน่ใจว่ายังหายใจอยู่ แม่อยากให้ผมเป็นคนเข้มแข็งเหมือนกระทิงที่ควิดสู้ศัตรู ซึ่งผมว่าจะให้ตั้งชื่อว่าควายก็กระไรอยู่" กระทิงเล่าถึงที่มาของชื่อนี้อย่างฮา
กระทิงบอกว่าภูมิใจมากที่เป็นคนต่างจังหวัดและได้สู้ชีวิตสมใจแม่ แรงใจจากฮีโร่ในฝันอย่างไอสไตน์และอาจารย์โรงเรียนวัดคูยางทำให้เด็กชายกระทิงมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักฟิสิกส์
"โรงเรียนไม่มีอุปกรณ์ไฮเทค แต่คุณครูสอนให้เด็กรักวิทยาศาสตร์จากสิ่งใกล้ตัว ผมฝันอยากได้เหรียญทองฟิสิกส์โอลิมปิก ผมก็บ้าอยู่คนเดียว พยายามมากกว่าคนอื่น ทุกวันนี้ผมนอนวันละ 4 ชั่วโมงเพื่อให้มีเวลามากกว่าคนอื่น มันเหมือนในหนัง ไม่มีข้อจำกัดในความฝันของเรา ผมไม่ได้บอกว่าผมเก่งแต่ผมแค่ไม่จำกัดความฝัน ถ้ามีความฝัน อย่าให้ใครมากำหนดความฝันของเรา"
หลังจบการศึกษาจากกำแพงเพชรพิทยาคม กระทิงเข้าศึกษาต่อที่คณะวิศวกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถคว้าเกียรตินิยมแม้ผลการเรียนในสองปีแรกจะตกต่ำเพราะต้องดูแลคุณแม่ที่ป่วยหนัก เมื่อคุณพ่อกลับมารับช่วงดูแลคุณแม่ต่อจึงสามารถฮึดเรียนช่วงสองปีหลังได้เต็มที่ จากนั้นจึงเบนเข็มมาศึกษาต่อปริญญาโทด้านการตลาดภาคภาษาอังกฤษหรือ MIM ที่ธรรมศาสตร์
"คุณสมคิด จาตุศรีพิทักษ์คือฮีโร่ด้านการตลาดของผม คนนี้ใกล้ตัวและจับต้องได้มากกว่าไอสไตน์ ผมอยากมีความคิดกระบวนการทางกลยุทธ์แบบคุณสมคิดเลยสนใจเรียนด้านการตลาด ช่วงนั้นทำงานที่บริษัท P&G ต้องนั่งรถตู้ ต่อเรือ มอเตอร์ไซค์มาเรียนลำบากมาก ช่วงที่อยู่ P&G ก็ค่อยๆไต่ขึ้นมา ทำ 6 ปี 6 แผนก"
หลังจากจบการศึกษาที่ธรรมศาสตร์ กระทิงเข้าศึกษาที่โรงเรียนบริหารธุรกิจสแตนฟอร์ด (Stanford Business School) ช่วงนี้กระทิงต้องผจญกับปัญหา Culture Shock จนทำให้ต้องร้องว่า Oh my god จนนับครั้งไม่ถ้วน
"ช่วงนั้นผมพยายามทำ Americanize หรือการทำให้ตัวเองมีความเป็นอเมริกัน สุดท้ายก็คิดว่ายังไงก็ยังเป็นคนไทย" กระทิงเล่า "เราเป็นเหมือนพริกไทยเม็ดเล็กๆแต่เผ็ดร้อน เราจริงใจมีน้ำใจให้เพื่อน ผมทำผัดไทแจกเพื่อนฝรั่งแล้วอธิบายว่ามันเป็นวัฒนธรรมของคนไทย ขอย้ำว่าอย่าลืมความเป็นไทย อย่าอาย อย่าเปลี่ยนตัวเองเพราะแรงกดดันของคนอื่น สุดท้ายเพื่อนฝรั่งก็ยอมรับและเลือกเราเป็นหัวหน้ากลุ่ม แต่ทำนองเดียวกัน ก็อย่าเหลิง เรียนรู้จุดเด่นและจุดด้อยของวัฒนธรรมไทยด้วย"
ด้วยวัยเพียง 30 ปี กระทิงผ่านงานมาแล้วอย่างโชกโชน ทั้งการ startup หรือการเริ่มก่อร่างบริษัทไฮเทคในซิลิกอนวัลเลย์และขายให้นายทุน ทำงานเป็นที่ปรึกษาเชิงกลยุทธ์อย่างบริษัท McKinsey&Company หรือบริษัทการเงินและการลงทุนส่วนตัวกับบริษัท Navis Capital
"ตอนนั้นได้เสนองานเยอะ แม่โทรมาถามว่าทำงานอะไรอยู่ลูก ผมก็ตอบว่าเหมือนจอร์จ โซรอสล่ะแม่ ตอนนี้กำลังโจมตีเงินหยวนอยู่ ตอนนั้นได้เงินเยอะจริงแต่ลืมตาตื่นขึ้นมาไม่มีความสุข ช่วงนั้นเลยคิดได้ว่าเราควรไดร์ฟ (ชีวิต) ด้วยความฝันไม่ใช่ด้วยเงิน ผมตัดสินใจอยากเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทในฝัน ไม่กูเกิลก็แอปเปิล สองบริษัทนี้เท่านั้น"
สัมภาษณ์ 9 รอบกว่าจะได้เข้ากูเกิล กระทิงเล่าว่าต้องทิ้งข้อเสนอรับเข้าทำงานถึง 5 แห่งเพื่อรอคำตอบรับเข้าทำงานกับกูเกิล สัมภาษณ์ทั้งสิ้น 9 รอบทุกแง่มุม เงินเดือนที่กูเกิลให้ไม่ได้มากกว่ารายอื่น แต่ให้หุ้นและสวัสดิการดีมาก โดยกระทิงเป็นหนึ่งในสามคนไทยในกูเกิล แต่กระทิงเป็นคนเดียวที่อยู่ในสายงานบริหาร
"สัมภาษณ์ครั้งนั้นยากมาก หากมีกรรมการคนเดียวใน 9 รอบนั้นสงสัยก็จะไม่ผ่านเลย ผมคิดว่าความ cool ของผมคือความเป็นคนไทย" ผลคือกระทิงได้รับตำแหน่ง Quantitative/Product Marketing Manager Google Inc. ดูแลการตลาดผลิตภัณฑ์เสิร์ชเอนจิ้นของกูเกิลทั้งภาคพื้นละตินอเมริกาและเอเชีย
กระทิงมองว่ากูเกิลนั้นเหมือนเมฆก้อนหนึ่ง ที่มีความวุ่นวายอยู่ภายในแต่ไม่ไร้ระเบียบ และเคลื่อนไหวในทางเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน สามสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริษัทอย่างแลรี่ เพจ, เซอร์เกย์ บริน และอีริก ชมิดท์จะวางยุทธศาสตร์บริษัทในระยะสั้น ซึ่งไม่ต่างจากบริษัทส่วนใหญ่ในซิลิกอนวัลเลย์ที่วัดผลกันในเวลาเพียง 6 เดือนไม่ใช่ 1 ปี
"กูเกิลมีโปรแกรมนวด มีแคปซูลให้นอนคลายเครียด แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือไม่มีใครนอน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความกดดันที่ทำให้คิดว่าเราจะถ่วงเพื่อนไม่ได้ ขนาดพ่อครัวในกูเกิลยังต้องแข่งขันสร้างนวัตกรรมอาหารว่างไม่ให้แพ้ใคร อีกส่วนหนึ่งคือโครงการที่กูเกิลให้สิทธิ์พนักงานนำเวลางาน 20% มาสร้างสรรค์สิ่งใดก็ได้ที่อยากทำ ทุกคนเหนื่อยแต่เดินมาตาเป็นประกาย ลืมตาตื่นขึ้นมาทุกคนคิดแต่ว่าทำยังไงให้คนสามารถใช้กูเกิลแก้ปัญหาได้ ทุกคนมีความสนุกและความท้าทายที่ต้องการเปลี่ยนโลก เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมในจีน เพื่อนผมคนหนึ่งลุกขึ้นมาบอกว่า อยู่เฉยไม่ได้แล้ว เค้าใช้กูเกิลแม็ปส์ทำแผนที่ให้ชาวจีนดูว่าพื้นที่ใดปลอดภัยพอจะอพยพไปได้"
กระทิงรวบรวมเอาประสบการณ์ในฐานะ “คนวงใน” ที่ทำงานจริงในซิลิกอนวัลเลย์ นำเสนอข้อมูลที่มาที่ไปของความสำเร็จในโลกธุรกิจอินเทอร์เน็ตยุค 2.0 อย่างละเอียดไว้ในหนังสือ “บทเรียนธุรกิจร้อนๆจากซิลิกอนวัลเลย์” จัดพิมพ์โดยเครือเนชั่นกรุ้ป เปิดตัวหนังสืออย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
อยากกลับบ้าน "ผมอยากกลับบ้าน คิดถึงแม่ แต่ถ้ากลับมาตอนนี้ก็ทำอะไรได้น้อยมาก เหมือนเด็กในตู้อบ ต้องรอวันพร้อมก่อนจึงจะออกมาได้ ผมจะกลับมาเมื่อพร้อม เมื่อมี connection ที่จะช่วยเหลือประเทศได้ เมื่อพร้อมจะกลับมาแน่ๆ"
กระทิงระบุว่าอยากทำประโยชน์เพื่อระบบการศึกษาไทย เนื่องจากเชื่อว่ามีผลต่อแนวคิดและทัศนคติของเด็กอย่างมาก
"การศึกษามีผลเยอะจริงๆ การศึกษาที่ดีจะทำให้เด็กมีไอเดีย พระเจ้าให้ความบ้าพลัง ให้พลังงานมหาศาล ให้ความมุ่งมั่นกับผม ครอบครัวที่อบอุ่นทำให้ผมมีความมั่นใจและความตั้งใจที่แน่ชัด ขณะที่อาจารย์ของผมที่โรงเรียนวัดคูยางหรือกำแพงเพชรพิทยาฯปลูกฝังให้ผมรักวิทยาศาสตร์"
แม้โครงการ 20% จากเวลางานของกระทิงนั้นจะหมดไปกับการทำงานและการนั่งเครื่องบินไปต่างประเทศ แต่กระทิงแย้มว่ากำลังตั้งใจสร้างระบบเรียนรู้แบบเปิดเพื่อเด็กต่างจังหวัดในพื้นที่ห่างไกล และเมื่อถามเจ้าของฉายา "The incredibull" คนนี้ว่ามีคู่ใจหรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่ามีแล้วเรียบร้อย
"แฟนดุครับ ถึงได้ปราบผมได้"
โดย ผู้จัดการออนไลน์
4 เมษายน 2551
Sunday, March 30, 2008
ซิลิกอนวัลเ์ลย์ไทยเกิดไม่ได้ถ้า......
คนไทยในซิลิกอนวัลเลย์ของสหรัฐฯ สะท้อนปัญหาหลักที่ทำให้ความฝันในการสร้างซิลิกอนวัลเลย์ หรือเขตอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยยังห่างไกล ระบุคนไทยมีความสามารถแต่ยังขาดโอกาส ต่างจากซิลิกอนวัลเลย์ของจริงในสหรัฐฯที่มีเงินทุนรอคอยดาวดวงใหม่เสมอ ขณะที่การสนับสนุนจากภาครัฐยังไม่ตรงจุด ทั้งเรื่องกฏหมายและการศึกษา นายเรืองโรจน์ "กระทิง" พูนผล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดผลิตภัณฑ์ของกูเกิล (google) เล่าถึงซิลิกอนวัลเลย์ในสหรัฐฯ (Silicon Valley) ในฐานะคนไทยที่ใช้ชีวิตในซิลิกอนวัลเลย์ เมืองพาโลอัลโต สหรัฐอเมริกา ระบุว่าองค์ประกอบที่ซิลิกอนวัลเลย์ในสหรัฐฯแตกต่างจากที่อื่นคือความพร้อมด้านคน ด้านเทคโนโลยี เงินทุน และความกล้าเสี่ยง และไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ใครจะลอกเลียนแบบ "ซิลิกอนวัลเลย์ไม่มีจุดกำเนิดที่ชัดเจน เกิดขึ้นเมื่อ 50-60 ปีที่แล้ว เป็นการยากมากที่ใครจะไปถอดแบบหรือเลียนแบบมา มันเหมือนระบบนิเวศที่ซับซ้อน เหมือนร่างกายมนุษย์ที่เราไม่สามารถสร้างอวัยวะขึ้นมาได้เอง แต่ต้องใช้เวลาในการเพาะบ่ม และมันไม่ใช่นิคมอุตสาหกรรมธรรมดา" ถ้าไม่กล้าเสี่ยง กระทิงมองว่าสิ่งที่ทำให้ซิลิกอนวัลเลย์ของสหรัฐฯต่างจากที่อื่นคือความกล้าเสี่ยง เจ้าของไอเดียมีความมุ่งมั่นกล้าเสี่ยง ขณะเดียวกันนักลงทุนผู้ให้โอกาสก็กล้าเสี่ยงด้วย เจ้าของความคิดสามารถนำโครงการไปเคาะประตูเสนอขอเงินทุนได้ทันที ขณะที่ผู้บริหารของบริษัทรายใหญ่อย่างอิริก ชมิดท์ ซีอีโอกูเกิล หรือเทอร์รี่ ซีเมล อดีตซีอีโอยาฮู ถึงกับสละเวลางานมาสอนนักศึกษาในโรงเรียนบริหารธุรกิจสแตนฟอร์ด เพื่อหาโอกาสลงทุนทางธุรกิจจากนักเรียนดาวรุ่ง สำหรับการผลักดันให้ภูเก็ตกลายเป็นสวรรค์ไอซีทีเพื่อดึงดูดนักลงทุน กระทิงให้ความเห็นว่าประเทศไทยมีปัจจัยพื้นฐานพร้อมแล้วทั้งคนไอทีและโครงข่ายเว็บไซต์เทคโนโลยี Web2.0 แต่สิ่งที่ยังขาดคือกฏหมาย และการสนับสนุนจากภาครัฐ ถ้าไม่มีกฏหมาย "มีคำพูดว่า การจะสร้างซิลิกอนวัลเลย์นั้นขอเพียงมือไอทีเก่งๆ 300 รายเท่านั้น เชื่อว่าไทยเรามีมือไอทีเก่งๆเกิน 300 ด้วยซ้ำ คนมีแล้วแต่มีกฏหมายรองรับรึเปล่า ตอนนี้ประเทศไทยมีเว็บไซต์ web2.0 เยอะ มีพื้นฐานแล้วแต่จะทำให้เป็นคอมเมอร์เชียลยังไงนี่คือความท้าทาย ยืนยันว่าประเทศไทยก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ไม่ตามหลังชาติอื่น แต่สาเหตุที่ทำให้คนทำเว็บไทยไม่รวย คืองบการตลาดออนไลน์ที่ยังน้อย และความไม่มั่นใจในความปลอดภัยของระบบออนไลน์ไทย" กระทิงเชื่อว่ากฏหมายและการสนับสนุนจากภาครัฐยังไม่เพียงพอในขณะนี้ เช่นกฏหมายเรื่องสิทธิการใช้งานข้อมูลดิจิตอลของไทยที่ยังตามการเปลี่ยนแปลงในโลกไซเบอร์ยุค Web 2.0 ไม่ทัน ที่สำคัญ กฏหมายซึ่งครอบคลุมและมีประสิทธิภาพจะทำให้ระบบออนไลน์มีความปลอดภัยสูง "ต้องให้โอกาส เพราะที่สหรัฐฯเองก็ยังครอบคลุมได้ไม่หมด" กระทิงกล่าว "ยุคนี้การปิดเว็บไม่ใช่ทางออก ถ้าเว็บถูกปิดผู้ใช้ก็ไปโพสต์ที่เว็บอื่นได้" เพราะ Web2.0 นั้นมอบอำนาจให้ผู้บริโภคทุกคนสามารถเผยแพร่คอนเทนท์ของตัวเองได้อย่างเสรี ถ้าไม่มีการสนับสนุน กระทิงยกตัวอย่างการสนับสนุนของรัฐบาลประเทศเวียดนามได้อย่างน่าสนใจ เล่าว่ารัฐบาลเวียดนามสนับสนุนด้านการศึกษาด้วยการเปิดให้ชาวเวียดนามเรียนภาษาอังกฤษฟรี สิ่งที่เกิดขึ้นคือชาวเวียดนามจำนวนมากมีทักษะภาษาที่ดีขึ้น ส่งให้โอกาสของชาวเวียดนามสดใสขึ้นด้วย "อย่าให้อุปสรรค์เล็กๆอย่างภาษามาขวางการถ่ายทอดความคิดของเรา ผมเป็นคนจังหวัดกำแพงเพชรที่เรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานตอนปีหนึ่งแล้วได้เกรด c มา 2 ตัว แต่สามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองจนกระทั่งสอบ GMAT ได้คะแนน 750" และถ้าไม่พึ่งตนเอง แม้หลายเสียงจะตอกย้ำว่าอนาคตไอทีของไทยแลนด์แพ้เวียดนามอย่างไม่เห็นฝุ่น แต่กระทิงเชื่อว่าคนไทยทำได้หากเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน "คนไทยถ้าแข่งตัวต่อตัวไม่แพ้เวียดนามหรือจีนหรอกครับ จงพึ่งตัวเราเอง อย่ามัวแต่พึ่งอัศวินม้าขาวมาช่วยเหลือ" กระทิงปลุกใจ "Web2.0 เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่ได้จุดประกายให้คนไทยแล้ว ผมเชื่อว่าคนไทยไม่ได้อยู่ในระดับใดทั้งสิ้น คนไทยทำได้ ถึงเราตัวเล็กกว่าแต่เราก็ยกน้ำหนักชนะเค้า" ชื่อตำแหน่งของกระทิงในกูเกิลคือ Quantitative/Product Marketing Manager หน้าที่หลักคือดูแลภาพรวมการทำตลาดผลิตภัณฑ์เสิร์ชเอนจิ้นในตลาดละตินอเมริกาและเอเชีย การกล่าวถึงซิลิกอนวัลเลย์ครั้งนี้เกิดขึ้นในงานเปิดตัวหนังสือ บทเรียนธุรกิจร้อนๆจาก Silicon Valley ซึ่งกระทิงเผยว่าใช้เวลานำรายงานที่เคยเขียนสมัยเรียนมาปรับเพิ่มข้อมูลใหม่เพียง 3 เดือน และการให้ความเห็นทั้งหมดสะท้อนออกมาในฐานะคนวงในที่เป็นคนไทย ไม่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งหน้าที่ที่กระทิงมีในกูเกิล กระทิงเป็นบุคคลที่น่าสนใจ ใครอยากรู้ว่าทำไมต้องชื่อกระทิง เส้นทางจากจังหวัดกำแพงเพชรสู่ซิลิกอนวัลเลย์จะขรุขระขนาดไหน ก่อนจะเข้าทำงานกับกูเกิลต้องสัมภาษณ์งานกี่รอบ สตีฟ จ็อบส์ที่กระทิงเคยพบมาดแมนเพียงใด และแนวคิดในการวางตัวแบบไทยๆให้ทำให้สามารถขึ้นเป็นผู้บริหารของกูเกิลด้วยวัยเพียง 30 ปีคืออะไร อดใจรอพบคำตอบในบทความตอนต่อไป
Monday, March 10, 2008
เส้นทางเศรษฐีเบอร์785ของโลก"Mark Zuckerberg"
เส้นทางเศรษฐีเบอร์785ของโลก"Mark Zuckerberg"
ชื่อของมาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ดูจะน่าสนใจมากขึ้นอีกเมื่อนิตยสาร Forbes จัดอันดับให้ซัคเกอร์เบิร์กเป็นเศรษฐีที่รวยอันดับ 785 ของโลก หลายคนอยากรู้ว่าเด็กหนุ่มผู้นี้เป็นใคร มาจากไหน และเส้นทางรวยล้นฟ้าด้วยวัยเพียง 23 ปีเกิดขึ้นได้อย่างไร แม้จะมีบทความมากมายเขียนไขข้อข้องใจไปแล้ว แต่ผู้จัดการไซเบอร์ ก็อดไม่ได้ที่จะรวบรวมเรื่องราวของซัคเกอร์เบิร์กมาเสนออีกครั้ง
ปัจจุบัน ซัคเกอร์เบิร์กเป็นทั้งนักธุรกิจและนักเขียนโปรแกรม ดำรงตำแหน่งประธานบริหารเว็บไซต์เฟสบุ้ก Facebook.com ธุรกิจเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์มูลค่าหลายพันล้านเหรียญที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์ดเวิร์ด ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมรุ่นและเพื่อนร่วมห้องอย่าง Andrew McCollum, Dustin Moskovitz และ Chris Hughes
เชื้อสายยิว-อเมริกัน
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สาราณุกรมออนไลน์ระบุว่า Mark Elliot Zuckerberg เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1984 ปัจจุบันอายุ 23 ปี เติบโตในย่าน Dobbs Ferry รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ครอบครัวเป็นยิว-อเมริกัน เริ่มเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นเข้าศึกษาระดับมัธยมที่ Ardsley High School และจบมัธยมปลายที่ Phillips Exeter Academy ในปี 2002
ซัคเกอร์เบิร์กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด หยุดเรียนไปกลางคัน และกลับมาลงทะเบียนเรียนอีกครั้งในปี 2006
ที่ฮาร์เวิร์ด ซัคเกอร์เบิร์กเริ่มต้นโครงการวิจัยหรือโปรเจ็กต์ชิ้นแรกกับเพื่อนร่วมห้อง Arie Hasit ชื่อของโปรเจ็กต์นี้คือ Coursematch เป็นบริการที่เปิดให้นักศึกษาสามารถดูรายชื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ โปรเจ็กต์ต่อมาคือ Facemash.com เว็บไซต์โหวตรูปนักศึกษาฮาร์เวิร์ดว่าใครได้รับความนิยมชมชอบมากหรือน้อย แต่แล้วเมื่อโปรเจ็กต์นี้ให้บริการจริงบนโลกออนไลน์เพียง 4 ชั่วโมง มหาวิทยาลัยก็ลงดาบระงับการใช้อินเทอร์เน็ตของซัคเกอร์เบิร์ก ด้วยข้อหาว่าโปรเจ็กต์นี้ของซัคเกอร์เบิร์กละเมิดนโยบายการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ และเป็นภัยต่อระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
เขียนไม่ถึง2สัปดาห์?
ซัคเกอร์เบิร์กคลอดบริการนาม Facebook จากห้องพักตัวเองในมหาวิทยาลัยด้วยฤกษ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2004 บางแหล่งข่าวระบุว่าซัคเกอร์เบอร์เขียนโปรแกรม FaceBook ชุดดั้งเดิมในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ คราวนี้ไม่ใช่บริการโหวตรูปหรือบริการแสดงรายชื่อเพื่อนร่วมชั้น แต่เป็นบริการที่ให้นักศึกษาสามารถโพสต์ข้อมูลของตัวเองได้เท่าที่ต้องการ
แน่นอนว่าเฟสบุ้กได้รับความนิยมถล่มทลายในฮาร์เวิร์ด นักศึกษาราว 2 ใน 3 แห่ลงทะเบียนใช้งานตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรกที่เปิดให้บริการ ต่อมาซัคเกอร์เบิร์กและเพื่อน Dustin Moskovitz เริ่มขยายบริการเฟสบุ้กไปยังสถานมหาวิทยาลัยอื่น เช่น สแตนฟอร์ด โคลัมเบีย และเยล โดยราว 4 เดือน สถานศึกษาที่ใช้บริการ Facebook มีจำนวนราว 30 แห่ง
เมื่ออะไรก็ไปได้สวย ซัคเกอร์เบิร์กตกลงใจเดินทางไป Palo Alto แคลิฟอร์เนียพร้อม Moskovitz และกลุ่มเพื่อนช่วงฤดูร้อนปี 2004 ทั้งกลุ่มวางแผนกลับฮาร์เวิร์ดให้ทันฤดูใบไม้ร่วงแต่ก็เปลี่ยนใจอยู่ที่แคลิฟอร์เนียต่อไป และขาดเรียนที่ฮาร์เวิร์ดตั้งแต่นั้น
ห้องเช่าถูกดัดแปลงเป็นสำนักงานชั่วคราว ช่วงฤดูร้อนนี้เองที่ทำให้ซัคเกอร์เบิร์กได้พบกับ Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้งบริการชำระเงินออนไลน์ PayPal ซึ่งให้ทุนก้อนแรกมา 5 แสนเหรียญ สำนักงานเฟสบุ้กแห่งแรกจึงกำเนิดขึ้นที่ University Avenue ในตัวเมือง Palo Alto นับจากนั้นไม่กี่เดือน ปัจจุบัน เฟสบุ้กมีอาคารสำนักงานในเมือง Palo Alto จำนวน 4 อาคาร ซึ่งซัคเกอร์เบิร์กเรียกว่า "urban campus" หรืออาณาจักรวิทยาลัย
มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) เศรษฐีวัย 23 ปีจากโลกออนไลน์ที่นิตยสาร Forbes จัดอันดับว่าร่ำรวยเป็นอันดับ 785 ของโลก จากเด็กชายในครอบครัวยิว-อเมริกันที่เริ่มเขึยนโปรแกรมตั้งแต่ประถม 6 สู่หนุ่มนักศึกษาฮาร์เวิร์ดที่พาตัวเองและผองเพื่อนปลุกปั้นโปรเจ็ค Facebook.com บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นธุรกิจเต็มขั้น
แน่นอนว่าก่อนที่ Facebook จะทำให้ซีอีโอซัคเกอร์เบิร์กกลายเป็นเศรษฐีหนุ่มติดอันดับโลก ยังมีขวากหนามมากมายที่ซัคเกอร์เบิร์กต้องฝ่าฟันไป
Facebook นั้นเป็นที่รู้จักในนามบริการออนไลน์ที่ทำให้ผู้ใช้แบ่งปันข้อมูลกับเพื่อนที่อยู่ในสังคมเดียวกันแบบรวดเร็วทันใจและเข้าถึง ทั้งข้อมูลแฟ้มภาพถ่ายเมื่อครั้งไปเที่ยว ภาพยนตร์ที่ชอบ และประวัติส่วนตัวทั่วไป ต่างจากเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์อื่นตรงที่ Facebook เป็นชุมชนในโลกที่มีตัวตนอยู่จริง ใช้ชื่อ Email เดียวกันและต้องการทำความรู้จักคนอื่นๆในสังคมเดียวกัน ทั้งหมดนี้โดนใจชาวอเมริกันที่กระตือรือร้นอยากจะรู้จักคนอื่นในสังคมเดียวกันให้มากขึ้น
ชาวอเมริกันที่นิยมชมชอบ Facebook มีทั้งกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย นักเรียนโรงเรียนมัธยม รวมถึงคนวัยทำงาน สถิติชุมชนที่ใช้ Facebook ล่าสุดมีจำนวนหลายหมื่นชุมชน มีทั้งชุมชนเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ CIA ชุมชนพนักงานร้านแมคโดนัลด์ และกองกำลังนาวิกโยธินของสหรัฐฯ ที่สำคัญ Facebook ยังสนับสนุนการขายสินค้าข้ามบริษัทบนเว็บไซต์ และวางเป้าหมายว่า ผู้ใช้จะสามารถค้นหาสินค้าทุกชนิดได้จากเว็บไซต์แห่งนี้ในอนาคต
วิกฤตคือโอกาส
หลังจากได้ทุนก้อนแรกจาก Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้งบริการชำระเงินออนไลน์ PayPal มูลค่า 5 แสนเหรียญ ผลงานหนึ่งที่โด่ดเด่นของ Facebook.com คือบริการ News Feed เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือน 5 กันยายน 2006 ไม่ใช่รายการข่าวสารบ้านเมืองแต่เป็นรายการความเคลื่อนไหวของกลุ่มเพื่อนในเว็บไซต์
ซัคเกอร์เบิร์กตกที่นั่งลำบากเนื่องจากผู้ใช้จำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับฟีเจอร์นี้ โดยผู้ใช้มองว่า News Feed ทำให้ข้อมูลส่วนตัวแพร่กระจายไปทั่วเว็บ Facebook โดยไม่ได้รับอนุญาต
ผู้ใช้ Facebook ร่วมใจประท้วงไม่เห็นด้วยกับฟีเจอร์ News Feed ราว 700,000 คนภายในไม่ถึง 48 ชั่วโมง ร้อนถึงซัคเกอร์เบิร์กต้องเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ใช้ เพื่อขอโทษที่ละเลยการให้ความสำคัญกับการปกป้องความเป็นส่วนตัว และยืนยันว่าเจตนาในการออกแบบฟีเจอร์ News Feed คือเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลแก่คนในชุมชนเดียวกันบน Facebook เท่านั้น
เมื่อทีมวิศวกรของ Facebook ลงมือปรับปรุงความเป็นส่วนตัวของ News Feed ซัคเกอร์เบิร์กระบุว่าขณะนี้ News Feed กลายเป็นสิ่งที่ผู้ใช้นิยมไปแล้วเรียบร้อยโรงเรียน Facebook
เดือนพฤศจิกายน 2007 ซัคเกอร์เบิร์กได้ฤกษ์เปิดตัวระบบโฆษณาออนไลน์ใหม่ในชื่อ Beacon เป็นระบบที่เปิดให้นักการตลาดสามารถลงโฆษณาได้ด้วยตัวเองคล้ายระบบของกูเกิล (Google) ชนวนระเบิดปะทุขึ้นอีกเมื่อระบบโฆษณา Beacon สามารถเก็บข้อมูลใช้งานเว็บไซต์ของสมาชิก Facebook ได้ ความสามารถนี้ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า Facebook กำลังจะละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อีกครั้ง
ธันวาคม 2007 ซัคเกอร์เบิร์กระบุว่ากำลังดำเนินการทดสอบระบบโฆษณา Beacon อย่างจริงจัง ขออภัยในข้อผิดพลาดต่อผู้ใช้ และเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
Facebook ยังเผชิญปัญหาเดียวกับเว็บไซต์อื่นๆ คือปัญหาการฟ้องร้องว่าเป็นผลงานที่ขโมยความคิดคนอื่นมา โดยนักศึกษาฮาร์เวิร์ด 3 รายนาม Divya Narendra, Cameron Winklevoss และ Tyler Winklevoss ระบุว่าเคยว่าจ้างให้ซัคเกอร์เบิร์กเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ของพวกเขานามว่า ConnectU และกล่าวหาว่าซัคเกอร์เบิร์กขโมยแนวคิด การออกแบบ แผนธุรกิจ รวมถึงซอร์สโค้ดดั้งเดิมไป
คดีนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2004 ผู้ฟ้องระบุว่าร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และไม่มีเจตนาให้เว็บ Facebook ต้องปิดตัวลง อย่างไรก็ตาม Facebook ตัดสินใจฟ้องกลับและการพิพากษาคดียังไม่สิ้นสุดในขณะนี้
ด้านสื่อใหญ่อย่างนิวยอร์กไทมส์ เคยแสดงความเห็นว่า ซัคเกอร์เบิร์กอาจได้แนวคิดบริการมาจากเว็บไซต์ houseSYSTEM ของคุณปู่ Aaron J. Greenspan บุคคลสำคัญของสหรัฐฯก็เป็นได้
รวยเพราะหุ้น
ซัคเกอร์เบิร์กไม่ได้สร้างฐานะปึกแผ่นจากรายได้โฆษณาซึ่งเป็นรายได้หลักของเว็บ Facebook แต่มาจากการขายหุ้นบริษัทให้ไมโครซอฟท์ซึ่งทุ่มเงินกว่า 8,000 ล้านบาท ซื้อหุ้น Facebook ในสัดส่วน 1.6% จากซัคเกอร์เบิร์ก ราคานี้ไมโครซอฟท์คำนวณโดยตั้งมูลค่า Facebook ไว้สูงถึง 51,000 ล้านบาท มูลค่าเทียบเท่าบริษัทจำหน่ายสินค้าชื่อดัง GAP และโรงแรมแมริออท
การตัดสินใจขายหุ้นให้ไมโครซอฟท์ เกิดขึ้นหลังจาก Facebook ปฏิเสธข้อเสนอซื้อมูลค่า 1 พันล้านเหรียญจากยาฮู (Yahoo) ครั้งนั้นทั้งตัวซัคเกอร์เบิร์กและนักลงทุนคนแรกของบริษัทอย่าง Thiel กล่าวตรงกันว่ายังไม่รีบร้อนขาย Facebook ให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่หรือขายหุ้นให้สาธารณชน และราคาเสนอซื้อแค่หนึ่งพันล้านเหรียญนั้นต่ำเกินไป ฐานผู้ใช้และจำนวนผู้เข้าชมที่เพิ่มขึ้นทุกวันทำให้ทั้งสองเชื่อว่ามูลค่าบริษัทสูงกว่าที่ยาฮูเสนอมาแน่นอน สิ่งที่ Facebook จะเลือกจึงเป็นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและทำให้บริษัทเติบโตต่อไป
แต่เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ตัดสินใจควักเงิน 246 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 8.16 พันล้านบาท) แลกกับการครอบครองหุ้น Facebook เพียง 1.6% ทำให้ซัคเกอร์เบิร์กอดใจไม่ไหว ยอมเจียดหุ้นในมือยกให้ไมโครซอฟท์แต่โดยดี
เรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะการที่ไมโครซอฟท์ให้ราคา Facebook สูงกว่าผู้เสนอซื้อรายอื่นอย่างน่าสงสัย เพราะหากคำนวณราคาหุ้นที่ไมโครซอฟท์เสนอมา เท่ากับไมโครซอฟท์กำหนดมูลค่ารวมของ Facebook ไว้ถึง 1,500 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 51,000 ล้านบาท ซึ่งเซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่เสนอตัวซื้อหุ้น Facebook ด้วยเช่นกัน ระบุว่าเป็นราคาที่เกินจริง เพราะในแต่ละปีเฟซบุ๊คทำรายได้ไม่ถึง 200 ล้านเหรียญด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ดี การซื้อขายหุ้นระหว่างไมโครซอฟท์และซัคเกอร์เบิร์กมูลค่า 246 ล้านเหรียญ และการถือหุ้นบริษัทที่ไมโครซอฟท์ตีราคาไว้สูงถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในสัดส่วน 10 เปอร์เซ็นต์ ก็ทำให้นิตยสาร Forbes จัดอันดับความร่ำรวยของซัคเกอร์เบิร์กไว้ที่อันดับ 785 ของโลกไปแล้ว แม้นักวิเคราะห์จะยังสงสัยในสภาพคล่องด้านการเงินของซัคเกอร์เบิร์กอยู่
แม้จะถูกสงสัยเรื่องสภาพการเงิน แต่ซัคเกอร์เบิร์กไม่เคยถูกสงสัยเรื่องฝีไม้ลายมือ ขณะนี้ Facebook กำลังเพิ่มจำนวนวิศวกรและพนักงานบริการลูกค้าเพื่อรองรับตลาดมหาวิทยาลัยในแคนาดาและอังกฤษที่มีอัตราเติบโตเกือบ 30% ต่อเดือน และทำสถิติเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐฯ
เชื่อแน่ว่า โลกจะจับตาเศรษฐีหนุ่มวัย 23 ปีคนนี้ต่อไปอีกนานแสนนาน
ข้อมูลจาก Wikipedia.com และ Manager.co.th
ชื่อของมาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ดูจะน่าสนใจมากขึ้นอีกเมื่อนิตยสาร Forbes จัดอันดับให้ซัคเกอร์เบิร์กเป็นเศรษฐีที่รวยอันดับ 785 ของโลก หลายคนอยากรู้ว่าเด็กหนุ่มผู้นี้เป็นใคร มาจากไหน และเส้นทางรวยล้นฟ้าด้วยวัยเพียง 23 ปีเกิดขึ้นได้อย่างไร แม้จะมีบทความมากมายเขียนไขข้อข้องใจไปแล้ว แต่ผู้จัดการไซเบอร์ ก็อดไม่ได้ที่จะรวบรวมเรื่องราวของซัคเกอร์เบิร์กมาเสนออีกครั้ง
ปัจจุบัน ซัคเกอร์เบิร์กเป็นทั้งนักธุรกิจและนักเขียนโปรแกรม ดำรงตำแหน่งประธานบริหารเว็บไซต์เฟสบุ้ก Facebook.com ธุรกิจเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์มูลค่าหลายพันล้านเหรียญที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์ดเวิร์ด ด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมรุ่นและเพื่อนร่วมห้องอย่าง Andrew McCollum, Dustin Moskovitz และ Chris Hughes
เชื้อสายยิว-อเมริกัน
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สาราณุกรมออนไลน์ระบุว่า Mark Elliot Zuckerberg เกิดเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1984 ปัจจุบันอายุ 23 ปี เติบโตในย่าน Dobbs Ferry รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ครอบครัวเป็นยิว-อเมริกัน เริ่มเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นเข้าศึกษาระดับมัธยมที่ Ardsley High School และจบมัธยมปลายที่ Phillips Exeter Academy ในปี 2002
ซัคเกอร์เบิร์กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด หยุดเรียนไปกลางคัน และกลับมาลงทะเบียนเรียนอีกครั้งในปี 2006
ที่ฮาร์เวิร์ด ซัคเกอร์เบิร์กเริ่มต้นโครงการวิจัยหรือโปรเจ็กต์ชิ้นแรกกับเพื่อนร่วมห้อง Arie Hasit ชื่อของโปรเจ็กต์นี้คือ Coursematch เป็นบริการที่เปิดให้นักศึกษาสามารถดูรายชื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ โปรเจ็กต์ต่อมาคือ Facemash.com เว็บไซต์โหวตรูปนักศึกษาฮาร์เวิร์ดว่าใครได้รับความนิยมชมชอบมากหรือน้อย แต่แล้วเมื่อโปรเจ็กต์นี้ให้บริการจริงบนโลกออนไลน์เพียง 4 ชั่วโมง มหาวิทยาลัยก็ลงดาบระงับการใช้อินเทอร์เน็ตของซัคเกอร์เบิร์ก ด้วยข้อหาว่าโปรเจ็กต์นี้ของซัคเกอร์เบิร์กละเมิดนโยบายการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่มหาวิทยาลัยกำหนดไว้ และเป็นภัยต่อระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
เขียนไม่ถึง2สัปดาห์?
ซัคเกอร์เบิร์กคลอดบริการนาม Facebook จากห้องพักตัวเองในมหาวิทยาลัยด้วยฤกษ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2004 บางแหล่งข่าวระบุว่าซัคเกอร์เบอร์เขียนโปรแกรม FaceBook ชุดดั้งเดิมในเวลาไม่ถึง 2 สัปดาห์ คราวนี้ไม่ใช่บริการโหวตรูปหรือบริการแสดงรายชื่อเพื่อนร่วมชั้น แต่เป็นบริการที่ให้นักศึกษาสามารถโพสต์ข้อมูลของตัวเองได้เท่าที่ต้องการ
แน่นอนว่าเฟสบุ้กได้รับความนิยมถล่มทลายในฮาร์เวิร์ด นักศึกษาราว 2 ใน 3 แห่ลงทะเบียนใช้งานตั้งแต่ 2 สัปดาห์แรกที่เปิดให้บริการ ต่อมาซัคเกอร์เบิร์กและเพื่อน Dustin Moskovitz เริ่มขยายบริการเฟสบุ้กไปยังสถานมหาวิทยาลัยอื่น เช่น สแตนฟอร์ด โคลัมเบีย และเยล โดยราว 4 เดือน สถานศึกษาที่ใช้บริการ Facebook มีจำนวนราว 30 แห่ง
เมื่ออะไรก็ไปได้สวย ซัคเกอร์เบิร์กตกลงใจเดินทางไป Palo Alto แคลิฟอร์เนียพร้อม Moskovitz และกลุ่มเพื่อนช่วงฤดูร้อนปี 2004 ทั้งกลุ่มวางแผนกลับฮาร์เวิร์ดให้ทันฤดูใบไม้ร่วงแต่ก็เปลี่ยนใจอยู่ที่แคลิฟอร์เนียต่อไป และขาดเรียนที่ฮาร์เวิร์ดตั้งแต่นั้น
ห้องเช่าถูกดัดแปลงเป็นสำนักงานชั่วคราว ช่วงฤดูร้อนนี้เองที่ทำให้ซัคเกอร์เบิร์กได้พบกับ Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้งบริการชำระเงินออนไลน์ PayPal ซึ่งให้ทุนก้อนแรกมา 5 แสนเหรียญ สำนักงานเฟสบุ้กแห่งแรกจึงกำเนิดขึ้นที่ University Avenue ในตัวเมือง Palo Alto นับจากนั้นไม่กี่เดือน ปัจจุบัน เฟสบุ้กมีอาคารสำนักงานในเมือง Palo Alto จำนวน 4 อาคาร ซึ่งซัคเกอร์เบิร์กเรียกว่า "urban campus" หรืออาณาจักรวิทยาลัย
มาร์ก ซัคเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) เศรษฐีวัย 23 ปีจากโลกออนไลน์ที่นิตยสาร Forbes จัดอันดับว่าร่ำรวยเป็นอันดับ 785 ของโลก จากเด็กชายในครอบครัวยิว-อเมริกันที่เริ่มเขึยนโปรแกรมตั้งแต่ประถม 6 สู่หนุ่มนักศึกษาฮาร์เวิร์ดที่พาตัวเองและผองเพื่อนปลุกปั้นโปรเจ็ค Facebook.com บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เป็นธุรกิจเต็มขั้น
แน่นอนว่าก่อนที่ Facebook จะทำให้ซีอีโอซัคเกอร์เบิร์กกลายเป็นเศรษฐีหนุ่มติดอันดับโลก ยังมีขวากหนามมากมายที่ซัคเกอร์เบิร์กต้องฝ่าฟันไป
Facebook นั้นเป็นที่รู้จักในนามบริการออนไลน์ที่ทำให้ผู้ใช้แบ่งปันข้อมูลกับเพื่อนที่อยู่ในสังคมเดียวกันแบบรวดเร็วทันใจและเข้าถึง ทั้งข้อมูลแฟ้มภาพถ่ายเมื่อครั้งไปเที่ยว ภาพยนตร์ที่ชอบ และประวัติส่วนตัวทั่วไป ต่างจากเว็บไซต์ชุมชนออนไลน์อื่นตรงที่ Facebook เป็นชุมชนในโลกที่มีตัวตนอยู่จริง ใช้ชื่อ Email เดียวกันและต้องการทำความรู้จักคนอื่นๆในสังคมเดียวกัน ทั้งหมดนี้โดนใจชาวอเมริกันที่กระตือรือร้นอยากจะรู้จักคนอื่นในสังคมเดียวกันให้มากขึ้น
ชาวอเมริกันที่นิยมชมชอบ Facebook มีทั้งกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัย นักเรียนโรงเรียนมัธยม รวมถึงคนวัยทำงาน สถิติชุมชนที่ใช้ Facebook ล่าสุดมีจำนวนหลายหมื่นชุมชน มีทั้งชุมชนเจ้าหน้าที่หน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ CIA ชุมชนพนักงานร้านแมคโดนัลด์ และกองกำลังนาวิกโยธินของสหรัฐฯ ที่สำคัญ Facebook ยังสนับสนุนการขายสินค้าข้ามบริษัทบนเว็บไซต์ และวางเป้าหมายว่า ผู้ใช้จะสามารถค้นหาสินค้าทุกชนิดได้จากเว็บไซต์แห่งนี้ในอนาคต
วิกฤตคือโอกาส
หลังจากได้ทุนก้อนแรกจาก Peter Thiel ผู้ร่วมก่อตั้งบริการชำระเงินออนไลน์ PayPal มูลค่า 5 แสนเหรียญ ผลงานหนึ่งที่โด่ดเด่นของ Facebook.com คือบริการ News Feed เริ่มให้บริการตั้งแต่เดือน 5 กันยายน 2006 ไม่ใช่รายการข่าวสารบ้านเมืองแต่เป็นรายการความเคลื่อนไหวของกลุ่มเพื่อนในเว็บไซต์
ซัคเกอร์เบิร์กตกที่นั่งลำบากเนื่องจากผู้ใช้จำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับฟีเจอร์นี้ โดยผู้ใช้มองว่า News Feed ทำให้ข้อมูลส่วนตัวแพร่กระจายไปทั่วเว็บ Facebook โดยไม่ได้รับอนุญาต
ผู้ใช้ Facebook ร่วมใจประท้วงไม่เห็นด้วยกับฟีเจอร์ News Feed ราว 700,000 คนภายในไม่ถึง 48 ชั่วโมง ร้อนถึงซัคเกอร์เบิร์กต้องเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ใช้ เพื่อขอโทษที่ละเลยการให้ความสำคัญกับการปกป้องความเป็นส่วนตัว และยืนยันว่าเจตนาในการออกแบบฟีเจอร์ News Feed คือเพื่อให้ข่าวสารข้อมูลแก่คนในชุมชนเดียวกันบน Facebook เท่านั้น
เมื่อทีมวิศวกรของ Facebook ลงมือปรับปรุงความเป็นส่วนตัวของ News Feed ซัคเกอร์เบิร์กระบุว่าขณะนี้ News Feed กลายเป็นสิ่งที่ผู้ใช้นิยมไปแล้วเรียบร้อยโรงเรียน Facebook
เดือนพฤศจิกายน 2007 ซัคเกอร์เบิร์กได้ฤกษ์เปิดตัวระบบโฆษณาออนไลน์ใหม่ในชื่อ Beacon เป็นระบบที่เปิดให้นักการตลาดสามารถลงโฆษณาได้ด้วยตัวเองคล้ายระบบของกูเกิล (Google) ชนวนระเบิดปะทุขึ้นอีกเมื่อระบบโฆษณา Beacon สามารถเก็บข้อมูลใช้งานเว็บไซต์ของสมาชิก Facebook ได้ ความสามารถนี้ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า Facebook กำลังจะละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อีกครั้ง
ธันวาคม 2007 ซัคเกอร์เบิร์กระบุว่ากำลังดำเนินการทดสอบระบบโฆษณา Beacon อย่างจริงจัง ขออภัยในข้อผิดพลาดต่อผู้ใช้ และเร่งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้
Facebook ยังเผชิญปัญหาเดียวกับเว็บไซต์อื่นๆ คือปัญหาการฟ้องร้องว่าเป็นผลงานที่ขโมยความคิดคนอื่นมา โดยนักศึกษาฮาร์เวิร์ด 3 รายนาม Divya Narendra, Cameron Winklevoss และ Tyler Winklevoss ระบุว่าเคยว่าจ้างให้ซัคเกอร์เบิร์กเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ของพวกเขานามว่า ConnectU และกล่าวหาว่าซัคเกอร์เบิร์กขโมยแนวคิด การออกแบบ แผนธุรกิจ รวมถึงซอร์สโค้ดดั้งเดิมไป
คดีนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2004 ผู้ฟ้องระบุว่าร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม และไม่มีเจตนาให้เว็บ Facebook ต้องปิดตัวลง อย่างไรก็ตาม Facebook ตัดสินใจฟ้องกลับและการพิพากษาคดียังไม่สิ้นสุดในขณะนี้
ด้านสื่อใหญ่อย่างนิวยอร์กไทมส์ เคยแสดงความเห็นว่า ซัคเกอร์เบิร์กอาจได้แนวคิดบริการมาจากเว็บไซต์ houseSYSTEM ของคุณปู่ Aaron J. Greenspan บุคคลสำคัญของสหรัฐฯก็เป็นได้
รวยเพราะหุ้น
ซัคเกอร์เบิร์กไม่ได้สร้างฐานะปึกแผ่นจากรายได้โฆษณาซึ่งเป็นรายได้หลักของเว็บ Facebook แต่มาจากการขายหุ้นบริษัทให้ไมโครซอฟท์ซึ่งทุ่มเงินกว่า 8,000 ล้านบาท ซื้อหุ้น Facebook ในสัดส่วน 1.6% จากซัคเกอร์เบิร์ก ราคานี้ไมโครซอฟท์คำนวณโดยตั้งมูลค่า Facebook ไว้สูงถึง 51,000 ล้านบาท มูลค่าเทียบเท่าบริษัทจำหน่ายสินค้าชื่อดัง GAP และโรงแรมแมริออท
การตัดสินใจขายหุ้นให้ไมโครซอฟท์ เกิดขึ้นหลังจาก Facebook ปฏิเสธข้อเสนอซื้อมูลค่า 1 พันล้านเหรียญจากยาฮู (Yahoo) ครั้งนั้นทั้งตัวซัคเกอร์เบิร์กและนักลงทุนคนแรกของบริษัทอย่าง Thiel กล่าวตรงกันว่ายังไม่รีบร้อนขาย Facebook ให้แก่บริษัทยักษ์ใหญ่หรือขายหุ้นให้สาธารณชน และราคาเสนอซื้อแค่หนึ่งพันล้านเหรียญนั้นต่ำเกินไป ฐานผู้ใช้และจำนวนผู้เข้าชมที่เพิ่มขึ้นทุกวันทำให้ทั้งสองเชื่อว่ามูลค่าบริษัทสูงกว่าที่ยาฮูเสนอมาแน่นอน สิ่งที่ Facebook จะเลือกจึงเป็นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและทำให้บริษัทเติบโตต่อไป
แต่เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอฟท์ตัดสินใจควักเงิน 246 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 8.16 พันล้านบาท) แลกกับการครอบครองหุ้น Facebook เพียง 1.6% ทำให้ซัคเกอร์เบิร์กอดใจไม่ไหว ยอมเจียดหุ้นในมือยกให้ไมโครซอฟท์แต่โดยดี
เรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์อย่างหนัก โดยเฉพาะการที่ไมโครซอฟท์ให้ราคา Facebook สูงกว่าผู้เสนอซื้อรายอื่นอย่างน่าสงสัย เพราะหากคำนวณราคาหุ้นที่ไมโครซอฟท์เสนอมา เท่ากับไมโครซอฟท์กำหนดมูลค่ารวมของ Facebook ไว้ถึง 1,500 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 51,000 ล้านบาท ซึ่งเซอร์เกย์ บริน ผู้ร่วมก่อตั้งกูเกิลซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่เสนอตัวซื้อหุ้น Facebook ด้วยเช่นกัน ระบุว่าเป็นราคาที่เกินจริง เพราะในแต่ละปีเฟซบุ๊คทำรายได้ไม่ถึง 200 ล้านเหรียญด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ดี การซื้อขายหุ้นระหว่างไมโครซอฟท์และซัคเกอร์เบิร์กมูลค่า 246 ล้านเหรียญ และการถือหุ้นบริษัทที่ไมโครซอฟท์ตีราคาไว้สูงถึง 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในสัดส่วน 10 เปอร์เซ็นต์ ก็ทำให้นิตยสาร Forbes จัดอันดับความร่ำรวยของซัคเกอร์เบิร์กไว้ที่อันดับ 785 ของโลกไปแล้ว แม้นักวิเคราะห์จะยังสงสัยในสภาพคล่องด้านการเงินของซัคเกอร์เบิร์กอยู่
แม้จะถูกสงสัยเรื่องสภาพการเงิน แต่ซัคเกอร์เบิร์กไม่เคยถูกสงสัยเรื่องฝีไม้ลายมือ ขณะนี้ Facebook กำลังเพิ่มจำนวนวิศวกรและพนักงานบริการลูกค้าเพื่อรองรับตลาดมหาวิทยาลัยในแคนาดาและอังกฤษที่มีอัตราเติบโตเกือบ 30% ต่อเดือน และทำสถิติเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของสหรัฐฯ
เชื่อแน่ว่า โลกจะจับตาเศรษฐีหนุ่มวัย 23 ปีคนนี้ต่อไปอีกนานแสนนาน
ข้อมูลจาก Wikipedia.com และ Manager.co.th
Labels:
face book,
Facebook,
google,
hi5,
Mark Zuckerberg,
microsoft,
social networking,
yahoo
Subscribe to:
Posts (Atom)